วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์และเทคนิคสืบค้นสารสนเทศ

กลยุทธ์และเทคนิคสืบค้นสารสนเทศ เป็น วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้น เพื่อให้ได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งโดยปกติสามารถแบ่งเทคนิคการสืบค้นได้เป็น 2 ประเภทคือ เทคนิคการสืบค้นแบบง่าย และเทคนิคการสืบค้นขั้นสูง

3.1 เทคนิคการสืบค้นแบบง่าย (Simple Search)
เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้คำโดด หรือ คำผสมเพียง 1 คำในการสืบค้นข้อมูลโดยไม่ต้องสร้างประโยคคำค้นที่ยุ่งยาก ซับซ้อน กระบวนการค้นหาสารสนเทศเริ่มต้นจากผู้ค้นมีความต้องการ สารสนเทศเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้น ผู้ค้นจะต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสืบค้น หลักการค้นจะเริ่มต้นจากข้อมูลที่ผู้สืบค้นมีอยู่ ซึ่งทางเลือกในการสืบค้นที่สำคัญๆและควรรู้จักมีดังนี้
3.1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author) หมายถึงชื่อของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือหน่วยงาน/องค์กร ที่แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ซึ่งมีหลักการค้น ดังนี้
• ผู้แต่งคนไทย ค้นที่ชื่อของบุคคลนั้นๆ หากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ให้ค้นจากชื่อที่ต่อท้ายนามบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ส่วนการค้นชื่อที่เป็นสมณศักดิ์ ให้ค้นตามสมณศักดิ์ นั้นๆ เช่น
ม.ร.ว. คีกฤทธิ์ ปราโมช ค้นที่ คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.
ร.ต.อ.ปุรชัย เปื่ยมสมบูรณ์ ค้นที่ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
พระธรรมปิฎก ค้นที่ พระธรรมปิฎก


• ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นที่ชื่อสกุล เช่น
เจ.เค.โรวลิ่ง ค้นที่ โรวลิ่ง, เจ.เค.
Hillary Clinto ค้นที่ Clinton, H.

• ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ค้นที่ชื่อหน่วยงานนั้น กรณีที่ค้นมีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นที่ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน กรณีที่เป็นชื่อย่อ ให้ค้นที่ชื่อเต็ม เช่น
ศอ.รส. ค้นที่ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย
สพฐ. ค้นที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


3.1.2 ชื่อเรื่อง (Title)หมายถึง ชื่อหนังสือ หรือชื่อบทความ หรือชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการค้น มีหลักการค้นดังนี้


• ชื่อเรื่องภาษาไทย ค้นตรงชื่อเรื่องนั้นๆ โดยดูที่อักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ เช่น เปิดโลกอินเตอร์เน็ต ค้นที่ เปิดโลกอินเตอร์เน็ต
• ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ใช้หลักการเดียวกันกับภาษาไทย เช่น
Olympic 2010 ค้นที่ Olympic 2010
The Lord of the rings ค้นที่ The Lord of the rings


3.1.3 หัวเรื่อง (Subject headings) หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นแทนเนื้อหาของหนังสือหรือบทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ โดยปกติวลีที่กำหนดเป็นหัวเรื่องนี้ จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดต่างๆในประเทศไทยหรือทั่วโลก ซึ่งหลักการค้นหัวเรื่องมีดังนี้


• ค้นที่คำหรือวลีที่เป็นชื่อบุคคล ชื่อหรือประเภทของหน่วยงาน สัตว์ พืช สิ่งของ สาขาวิชา/ เรื่องย่อยๆในสาขาวิชา สถานที่ โรค ฯลฯ คำหรือวลีดังกล่าว อาจมีการแบ่งย่อยลงสู่เรื่องเฉพาะมากขึ้น เช่นแบ่งย่อยตามสถานที่(ประเทศ ,รัฐ,เมือง ฯลฯ) หรือวิธีการเขียน (เช่น ประวัติ พจนานุกรมรวมเรื่อง ฯลฯ) หรือลำดับเหตุการณ์ (เช่น ยุคสมัย ปี พ.ศ.หรือ ค.ศ.) โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย - (hyphen) หรือ , (comma) เช่น
ต้องการค้นเรื่อง คำราชาศัพท์ทางคอมพิวเตอร์  ค้นที่ คอมพิวเตอร์ - พจนานุกรม
ต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติเมืองขอนแก่น    ค้นที่ ขอนแก่น, จังหวัด – ประวัติ

• คำหรือคำสำคัญ (Words หรือ Keywords) หมายถึง คำใดๆ ที่มีความหมายแทนเรื่องที่ต้องการค้น โดยปกติคำสำคัญทีสามารถค้นได้จากเครื่องมือสืบค้น จะเป็นคำที่นำมาจากคำที่ปรากฏในชื่อเรื่องและหัวเรื่อง แต่เครื่องมือสืบค้นบางชนิดอาจจะนำคำค้นมาจากที่ประกฎในบทคัดย่อ (Abstracts) หรือตัวเนื้อหา (Texts) ของหนังสือ หรือบทความหรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ การสับค้นจากคำสำคัญเป็นวิธีที่ง่าย เนื่องจากผู้ค้นจะค้นคำใดๆ ก็ได้ที่คิดว่าตรงกับเรื่องที่ต้องการค้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักการค้นเหมือนการค้นจารหัวเรื่อง แต่อาจมีข้อเสียคือบางครั้งเรื่องที่ค้นได้อาจไม่ตรงกับความต้องการ เพราะคำต่างๆ ที่ใช้ค้นนั้นอาจเป็นเพียงคำที่ปรากฏในชื่อเรื่องหรือส่วนอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยที่มิใช่เนื้อหาของเรื่องโดยตรง คำสำคัญที่นำมาเป็นคำค้นจะไม่รวมคำนำหน้านาม (a,an,the) และคำเชื่อม (with , that, or, not, etc.)
• เครื่องมือสืบค้นที่สามารถค้นโดยใช้คำสำคัญมักเป็น เครื่องมือที่จัดเก็บในรูปของฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ค้นเพียงแต่พิมพ์คำว่าที่ต้องการค้น ระบบคอมพิวเตอร์จะค้นหาคำที่ปรากฏในรูปฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์และแสดงผลข้อมูลที่ค้นพบให้ทันที


3.2 เทคนิคการสืบค้นขั้นสูง (Advanced Search)เป็นการสร้างประโยคคำค้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ทำให้เราได้ข้อมูลที่รงกับความต้องการมากขึ้น ซึ่งเทคนิคการสืบค้นขึ้นสูงนี้ มีหลายชนิด ได้แก่


3.2.1 การสืบค้นโดยใช้เทคนิคตรรกบูลีน (Boolean Logic) เป็นเทคนิคในการสืบค้นสำหรับการปรับแต่งการสืบค้น โดยอาศัยตัวกระทำ 3 ตัว คือ and , or , not ดังนี้


 AND ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง โดยการใช้ AND จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B
ตัวอย่าง: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน

 OR ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อขยายของเขตการค้นให้กว้างขึ้น โดยการใช้ OR จะใช้ในกรณีที่ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ
ตัวอย่าง: พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ
 NOT ใช้เชื่อมคำค้นเพื่อจำกัดขอบเขตการค้นให้แคบลง โดยใช้ NOT ในกรณีที่ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ
ตัวอย่าง: พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"


3.2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation) เป็นเทคนิคที่ช่วยในการสืบค้นให้ได้ข้อมูลที่กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น โดยการละข้อความบางส่วนของคำ และใช้สัญลักษณ์แทนอาจเป็นสัญลักษณ์ # หรือ ? หรือ $ หรือ *
การใช้เทคนิคการตัดคำนี้เนื่องจากการเขียนคำศัพท์ที่แตกต่างกัน เช่น รูปเอกพจน์ รูปพหูพจน์ หรือรูปแบบการเขียนแบบภาษาอังกฤษ หรืออเมริกัน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถตัดคำได้ทั้งการตัดท้ายคำ หรือตัดหน้าคำก็ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อพิมพ์คำค้นว่า Colo# ระบบจะทำการสืบค้นให้ทั้งคำที่เขียนว่า color และ colour หรือพิมพ์คำว่า Librar# ระบบจะทำการสืบค้นให้ทั้งคำว่า Library , Libraries และ Librarian เป็นต้น


วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสืบค้น
ความต้องการใช้สารนิเทศนั้น นักเรียน นักศึกษาอาจต้องการสารนิเทศ เพื่อประกอบการเรียนการทำรายงาน การเขียนบทความ การทำวิจัยเพื่อการศึกษา ส่วนประชาชนทั่วไปอาจต้องการข้อมูล เพื่อการดำรงชีพ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันข้อมูลในทางอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากขึ้น ผู้ที่ต้องการสารนิเทศควรมีทักษะในการใช้โปรแกรมสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งมีวิธีการดังนี้


1. เลือกใช้โปรแกรมสืบค้นสารนิเทศ ให้เหมาะสมกับความต้องการ เพราะโปรแกรมจะมีลักษณะเฉพาะตัว เฉพาะสาขา การอ่านระบบช่วยเหลือของโปรแกรมสืบค้น จะมีคำแนะนำในการค้นหา และทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ก่อนการใช้งาน
2. ระบุความต้องการให้ชัดเจน ว่าเราต้องการค้นคว้าข้อมูลเรื่องใด และกำหนดขอบเขตของเรื่อง
3. กำหนดคำถาม ( Query) ของเรื่องที่ต้องการค้น โดยใช้คำค้นที่เป็นคำสำคัญที่เฉพาะเจาะจง และเป็นคำมาตรฐาน ตรงตามความต้องการ ไม่ควรใช้คำค้นที่กว้างมาก หรือเป็นคำที่กำกวม เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มากเกินไป และไม่ตรงตามความต้องการ
4. ใช้เครื่องหมายต่างๆ และตรรกบูลีน เพื่อกำหนดขอบเขตของคำที่ใช้ค้นให้เฉพาะเจาะจง
5. ใช้การค้นคำหลายคำ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกัน เป็นคำสำคัญในการสืบค้น เช่นคำที่สะกดได้ทั้งแบบอังกฤษ และอเมริกา หรือคำเอกพจน์ และพหูพจน์ หรือคำที่สามารถสะกดได้หลายรูปแบบ แต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน เพราะจะทำให้ผลของการสืบค้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ตรวจสอบการใช้คำค้นให้ถูกต้อง เช่น การสะกดคำ
7. ใช้โปรแกรมสืบค้นมากกว่า 1 ตัว เนื่องจากโปรแกรมสืบค้นแต่ละตัวครอบคลุมฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีการทำดรรชนีที่แตกต่างกันด้วย


เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit search) เทคนิคการจำกัดการค้นให้แคบลงโดยกำหนดเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นร่วมกับคำค้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและความสามารถของระบบที่สืบค้นเช่น การกำหนดให้ระบุปีพิมพ์ของข้อมูลที่ต้องการค้น หรือการกำหนดภาษาของเอกสาร เช่น internet and la = English หมายความว่า ให้ค้นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต และตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นหรือ internet and py >= 1999 หมายความว่า ให้ค้นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต และตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น