วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (2)

2.2.3 CD-ROM โดยทั่วไปมักใช้ CD-ROM เป็นเครื่องมือที่ใช้สืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic database) และหรือข้อมูลเนื้อหาเต็ม (Fulltext) ส่วนมากจะเป็นบทความวารสารภาษาต่างประเทศ รายงานการประชุมทางวิชาการ รายงานการวิจัย บทวิจารณ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆที่เป็นภาษาต่างประเทศ ส่วนมากซีดี-รอม 1 ชื่อมักรวบรวมข้อมูลเน้นเฉพาะทางใดทางหนึ่ง เช่น Agricola รวบรวมข้อมูลทางด้านการเกษตร COMPENDEX Plus รวบรวมข้อมูลด้านวิศวกรรมศาสตร์ ABI/INFORM รวบรวมข้อมูลในสาขาธุรกิจ การจัดการฯลฯ ERIC รวมรวมข้อมูลในสาขาการศึกษา เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมฐานข้อมูลซีดี-รอมให้บริการเฉพาะในรูปของแผ่นซีดี –รอมเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีผู้ผลิตบางรายได้ ให้บริการออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลอีกทางหนึ่ง


CD-ROM ส่วนใหญ่เป็นการผลิตและเผยแพร่จากบริษัทจากบริษัทและสำนักพิมพ์ต่างๆรายการทรัพยากรสารสนเทศที่สืบค้นได้จาก CD-ROM บางรายการจึงอาจไม่มีไว้บริการในห้องสมุด ดังนั้นผู้ใช้ต้องนำรายการที่สืบค้นได้ไปตรวจสอบกับรายการทรัพยากรในห้องสมุดเพื่อให้ทราบว่ามีไว้บริการในห้องสมุดหรือไม่

3.2 การสืบค้น CD-ROM และฐานข้อมูลออนไลน์

การสืบค้น CD-ROM ผู้สืบค้นสามารถใช้เทคนิคการสืบค้นอย่างง่าย หรือเทคนิคการสืบค้นขั้นสูงได้เช่นเดียวกับการสืบค้นอื่น ๆ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นหลักทั่วไปดังนี้

หลักทั่วไปในการสืบค้นข้อมูล

1) วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น การวิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นคือ ผู้ใช้ต้องรู้ว่าต้องการข้อมูลในเรื่องใด แล้วจึงกำหนดเรื่องที่ต้องการค้นเป็นคำสำคัญในการสืบค้น

2) เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม ผู้ใช้ควรทราบว่าเรื่องที่สืบค้นเป็นเรื่องในสาขาใดเลือกฐานข้อมูลให้ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาวิชาที่สืบค้น เพื่อช่วยให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ

3) ลงมือสืบค้น การสืบค้นโดยใช้ฐานข้อมูลซีดี – รอม โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้ 2 วิธี คือ การใช้เมนูในการสืบค้น และการสืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่ง การสืบค้นโดยใช้คำสั่ง ผู้ใช้จำเป็นต้องศึกษาคำสั่งต่าง ๆ ในการสืบค้น โดยฐานข้อมูลสำเร็จรูปแต่ละฐานที่จัดทำโดยบริษัทที่ แตกต่างกัน มักมีวิธีการสืบค้นที่แตกต่างกันด้วย

4) แสดงผลการสืบค้น เมื่อผู้ใช้สืบค้นได้ปริมาณรายการที่พอเพียงกับความต้องการแล้วสามารถแสดงผลรายการที่สืบค้นได้ 3 รูปแบบใหญ่ คือ

4.1) การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ (Full-Text) เป็นการแสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่ โดยแต่ละรายการอาจมีจำนวนเขตข้อมูลแตกต่างกันไป

4.2 ) การแสดงผลแบบย่อ เป็นการแสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรม และหรือบทคัดย่อ

4.3) การแสดงผลแบบอิสระ เป็นการแสดงผลที่กำหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลโดยตัวผู้ใช้เอง

5) เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล เป็นการเลือกเฉพาะรายการที่ผู้ใช้ต้องการ เรียกว่าเป็นการ Mark Record เพื่อให้ระบบทราบว่าผู้ใช้ต้องการรายการใดบ้างในการบันทึกผลออกทางกระดาษ



วิธีการหาบทความในวารสารภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ

เนื่องจากฐานข้อมูลอ้างอิง ครอบคลุมบทความในวารสารทุกสาขาที่ตีพิมพ์ทั่วโลก วารสารที่มีบทความปรากฎอยู่ จึงมักจะไม่มีในห้องสมุด ดังนั้นวิธีการหาบทความในวารสารภาษาอังกฤษ จึงมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1) วารสารที่มีในห้องสมุด นักศึกษาต้องจดชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ปรากฏบทความ เพื่อไปหาบทความอ่าน โดยวารสารภาษาอังกฤษมีการจัดเก็บโดยเรียงลำดับตัวอักษรของชื่อวารสารตั้งแต่ A –Z

2) วารสารที่ไม่มีในห้องสมุด นักศึกษาต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นวารสารที่บอกรับในห้องสมุดใด จากนั้นจดชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เพื่อขอใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด

นอกจากฐานข้อมูลซีดีรอมจะให้ข้อมูลดรรชนีวารสารและสาระสังเขปในกรณีที่เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงแล้ว ยังอาจพบข้อมูลเนื้อหาฉบับเต็มในฐานข้อมูลซีดีรอมอีกด้วย เช่น ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ สารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ProQuest ScienceDirect Pubmedเป็นต้น



2.2.4 เครื่องมือสืบค้นบน Internet จะช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตเป็นไปได้ตรงต่อความต้องการอย่างง่ายและสะดวก มีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ นามานุกรม กลไกการสืบค้น และกลไกการสืบค้นที่ทำงานร่วมกันหลายกลไก ทั้งนี้ ผู้ใช้ต้องทราบ URL (Uniform Resource Locator) หรือที่อยู่ทาง Internet ของ Web ที่ต้องการสืบค้น เพื่อใช้ในในการเข้าถึง Web นั้นๆได้ รวมทั้งให้ข้อมูลสื่อประสม (Multimedia) ด้วย โดยเฉพาะการสืบค้นข้อมูลพจนานุกรม สารานุกรม และดรรชนีวารสาร

ห้องสมุดที่ทันสมัยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักจัดบริการเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศหลักให้แก่ผู้ใช้ คือ OPAC โดยเฉพาะในรูปแบบ WebPac ซึ่งนอกจากผู้ใช้จะสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดแห่งนั้นๆ แล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงและสืบค้นสารสนเทศอื่นๆได้จาก CD-ROM หรือ Search Engines ตลอดจนสามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดอื่นๆ โดยผ่านทาง WebPac ได้ด้วย



1) นามานุกรม (Directories) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม ตามสาขาวิชาหรือตามหลักเกณฑ์ที่จัดทำกำหนดขึ้น การสืบค้นสามารถทำได้โดยการเลือกกลุ่มสาขาวิชาที่ต้องกับความต้องการ และเลือกเรื่องต่าง ๆ ตาม หัวข้อย่อยที่นามานุกรมรวบไว้ เช่น www.google.com , www.yahoo.com , www.sanook.com เป็นต้น

2) กลไกการสืบค้น (Search engine) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นทำหน้าที่รวบรวมสารสนเทศและส่งให้โปรแกรมจัดทำดรรชนีจัดทำดรรชนีตามที่กลไกกำหนด เช่น ทำดรรชนีจากชื่อเรื่อง หรือชื่อเว็บไซด์ เป็นต้น ผู้สืบค้นต้องพิมพ์คำค้นของเรื่องที่ต้องการสืบค้นลงในช่องที่กำหนด จากนั้นกลไกจะทำหน้าที่คัดเลือกสารสนเทศที่ตรงกับคำค้นมาแสดงผล เช่น www.google.com , www.yahoo.com , www.metacrawler.com , www.all4one.ocm เป็นต้น



เนื่องจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลาย และได้พัฒนาให้มีเทคนิคต่าง ๆ ประกอบในกาสืบค้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สืบค้นได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้สืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นสามารถใช้เทคนิคการสืบค้นต่าง ๆ มาประกอบในการค้น เช่น เทคนิคตรรกบูลีน เทคนิคการตัดคำ หรือเทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละเครื่องมือจะมีวิธีการใช้การเทคนิคแตกต่างกัน ซึ่งผู้สืบค้นต้องศึกษาเพิ่มเติมจากคำแนะนำซึ่งในแต่ละเครื่องมือได้มีการอธิบายประกอบไว้ ส่วนข้อมูลที่ได้จาการสืบค้นอินเตอร์เน็ต จะได้ข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งข้อมูลบรรณานุกรม ข้อมูลดรรชนีวารสารและสาระสังเขป ข้อมูลเนื้อหาเต็มฉบับ และข้อมูลสื่อประสม ดังนั้นการสืบค้นอินเตอร์เน็ตจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น